ยอดขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2558 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 61,991 คัน ยอดรวม 8 เดือน 491,963 คัน ลดลงถึง 15.1% เมื่อเที่ยบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โตโยต้าชี้สาเหตุสำคัญ มาจากหนี้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์โดยรวมในปีนี้
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2558 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 61,991 คัน ลดลง 9.9% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 22,790 คัน ลดลง 24.0% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,201 คัน เพิ่มขึ้น 0.9% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 31,746 คัน ลดลง 0.3%
ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม มีปริมาณการขาย 61,991 คัน ลดลง 9.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 24.0 เปอร์เซ็น และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 0.9% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ครั้งแรกในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 เป็นผลจากความนิยมในรถยนต์รุ่นใหม่ที่ได้แนะนำสู่ตลาดในช่วงที่ผ่านมา แต่เนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และรายได้เกษตรกรที่หดตัว ทำให้กำลังซื้อโดยรวมของผู้บริโภคยังไม่ขยายตัวเต็มที่
ตลาดรถยนต์สะสม 8 เดือน มีปริมาณการขาย 491,963 คัน ลดลง 15.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 21.2% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 10.7% สืบเนื่องมาจากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ รวมทั้งสถาบันทางการเงินที่ยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ ส่งผลให้ภาคธุรกิจและครัวเรือน ระมัดระวังเรื่องการลงทุนและใช้จ่าย
ตลาดรถยนต์ในเดือน กันยายน แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าตลาดจะมีการปรับลดลงต่อเนื่องจากผลกระทบของสภาพเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แต่จากการปรับคณะรัฐมนตรีในช่วงปลายเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจ ที่ได้เร่งดำเนินการออกมาตราการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และมาตราการช่วยธุรกิจขนาดย่อม (SME) คาดว่าจะส่งผลต่อการฟื้นความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและผู้บริโภค อย่างไรก็ตามความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลกและสภาพเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนกันยายนยังอยู่ในสภาวะทรงตัว
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 61,991 คัน ลดลง 9.9 เปอร์เซ็น
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,544 คัน ลดลง 13.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,057 คัน ลดลง 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 17.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,101 คัน ลดลง 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 13.1%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,790 คัน ลดลง 24.0 เปอร์เซ็น
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,858 คัน ลดลง 33.7% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,388 คัน ลดลง 35.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.6%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,472 คัน เพิ่มขึ้น 63.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.8%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV หรือ SUV พื้นฐานกระบะ) ปริมาณการขาย 31,746 คัน ลดลง 0.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,964 คัน เพิ่มขึ้น 5.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,929 คัน ลดลง 11.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,951 คัน ลดลง 15.0% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 5,728 คัน
โตโยต้า 3,359 คัน – มิตซูบิชิ 834 คัน – อีซูซุ 752 คัน – ฟอร์ด 672 คัน – เชฟโรเลต 111 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 26,018 คัน ลดลง 7.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,605 คัน ลดลง 11.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,177 คัน ลดลง 7.0% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,117 คัน ลดลง 29.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,201 คัน เพิ่มขึ้น 0.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,696 คัน เพิ่มขึ้น 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,057 คัน ลดลง 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 28.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,951 คัน ลดลง 15.0% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%