ค่ายฮอนด้า เตรียมตัวมาดีมากสำหรับงานแข่งขันรถยนต์ทางเรียบระดับแถวหน้าของเอเชีย Buriram Super GT Race 2016 สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อช่วงปลายปี 2559 ที่ผ่านมา
แม้ทีมแข่งที่ใช้รถยนต์ Honda NSX Concept ลงทำการแข่งขันจะไม่ใช่หัวแถวของตารางคะแนนรวมในซีซันนี้ แต่ฮอนด้าสามารถใช้เวทีที่สปอร์ตไลท์ทุกดวงในวงการมอเตอร์สปอร์ตฉายมายังดินแดน “เซาะกราว” สื่อสารการตลาดกับลูกค้าฮอนด้าในเมืองไทย ถึงวิถีฮอนด้าที่มี DNA ความเป็นมอเตอร์สปอร์ตอยู่ในผลิตภัณฑ์รถยนต์และแบรนด์ฮอนด้า
กับคำถามที่ว่า “ฮอนด้า” ในเมืองไทย ได้รับผลจากกิจกรรมการตลาดในคราวนี้แบบคุ้มค่าหรือไม่? กับเงินลงทุนและทรัพยากรที่ทุ่มเทลงไป เพราะวงการมอเตอร์สปอร์ตไทยยังอยู่ในวงจำกัด และงานแข่งขันจัดไกลถึงบุรีรัมย์ ห่างจากกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการลงทุนถึงกว่า 400 กิโลเมตร!
ต้องทราบก่อนว่า Super GT Race เป็นการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ ที่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นให้การสนับสนุนทีมแข่งโดยตรง ฉะนั้น ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นรายใหญ่ในเมืองไทย ต้องรับลูกและสร้างกิจกรรม Sport Marketing ที่สอดประสานกัน แต่ก็ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน สร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ (Brand Awareness) หรือเสริมสร้างความแข่งแกร่งให้แบรนด์ได้ผ่าน ผ่านการใช้การตลาดเชิงประสบการณ์ หรือ Experience Marketing ทั้งกับลูกค้าผู้คาดหวัง และลูกค้าเก่าในแบบ CRM (Customer Relation Management)
ณัฏฐ์ ปฏิภานธาดา ผู้จัดการทั่วไปส่วนการตลาด และการวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ driveautoblog ฟังว่า รถยนต์ฮอนด้า มี DNA ของมอเตอร์สปอร์ต อยู่ในแบรนด์และในผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมา และในรถโมเดลใหม่ๆ งานดีไซน์รถยนต์ฮอนด้าจะยิ่งมีความสปอร์ตมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือ Honda Civic ใหม่ เพราะฮอนด้าทราบดีว่า ลึกๆ แล้วลูกค้าที่เลือกใช้รถยนต์ฮอนด้านั้น ปัจจัยหนึ่งคือ รถยนต์ฮอนด้ามีดีไซน์ที่สปอร์ต โฉบเฉี่ยว และในวงการมอเตอร์สปอร์ตจะเห็นแบรนด์ฮอนด้าอยู่ในทุกเวทีสำคัญ สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ว่า นอกจากรถยนต์ฮอนด้าจะสวยแล้ว สมรรถนะการขับขี่ยังเป็นที่มั่นใจได้
กิจกรรมการตลาดของฮอนด้าในงาน Buriram Super GT Race 2016 เรียกได้ว่าจัดเต็ม และผ่านการวางแผนเตรียมงานมาอย่างดี สอดคล้องกับ Brand Strategy เรียกได้ว่าค่ายรถอื่นหมองกันเลยทีเดียว
กิจกรรมนอกสนามในส่วนของฮอนด้า พาวิเลียน ไม่เอาดีลเลอร์มาขายรถ เพราะคนมาเดินงานนั้นมาจากต่างถิ่น แต่สร้างกิจกรรมในบูธให้ลูดค้าเข้าถึง DNA ของแบรนด์ฮอนด้า อาทิ สนามรถบังคับวิทยุ โชว์รถตกตแต่งด้วยชุดแต้ง Modulo มีทแอนด์กรี้ดนักแข่งไทยที่เป็นดาวรุ่ง และพื้นที่จัดโชว์รถแต่งฮอนด้าคัสตอมโดยลูกค้า เป็นต้น และลูกค้าก็จัดคาราวานขับรถ Honda Civic มาร่วมกิจกรรมกันด้วย
และที่ฟินน์สุดๆ สำหรับลูกค้า Honda Civic ใหม่ คือกลุ่มคลับซีวิคกว่า 30 คัน ได้ขับรถของตนเองลงไปในแทรคของสนามช้างฯ ในช่วงพักการแข่งขัน เป็นประสบการณ์สุดพิเศษที่หาที่ไหนไม่ได้
กิจกรรมในสนาม มี 5 ทีมแข่งที่ใช้รถยนต์ Honda NSX Concept ลงแข่งขันในรายการ GT500 และมีทีมหนึ่งที่น่าสนใจคือ Drago Modulo Honda Racing ซึ่งพอดีกับฮอนด้าในไทยที่มีผลิตภัณฑ์ Modulo ซึ่งเป็นอะไหล่ตกแต่งรถยนต์ฮอนด้าทำการตลาดเองด้วย ที่สำคัญยังขึ้นโพเดี้ยมในตำแหน่งรองชนะเลิศอีกด้วย หลังจากผ่านการแข่งขันสุดโหดท่ามกลางอากาศร้อนของเมืองไทยเมื่อวิ่งครบ 66 รอบสนาม หรือกว่า 300 กิโลเมตร
และยังมีรายการประกอบการแข่งขันก็คือ Jazz Super Cup สนามที่ 3 ทำการแข่งขันในสนามช้างฯ เช่นกัน รายการนี้สนุกคึกคัก เพราะนักขับของไทยใช้เป็นเวทีในการฝึกฝีมือและช่วยให้โกอินเตอร์ไปแล้วหลายคน
ไฮไลต์อีกกิจกรรม คือ Honda Civic RS Turbo Performance Show โดย 3 นักแข่งดาวรุ่งของไทย ได้แก่ เติ้ล-ภัทรพล วงษ์ไพร แคท-ณัฐนิช ลีวัฒนาวรากุล และ นิว-ติณห์ ศรีตรัย
และที่ฟินน์สุดๆ สำหรับลูกค้า Honda Civic ใหม่ คือกลุ่มคลับซีวิคกว่า 30 คัน ได้ขับรถของตนเองลงไปในแทรคของสนามช้างฯ ในช่วงพักการแข่งขัน เป็นประสบการณ์สุดพิเศษที่หาที่ไหนไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการวางแผนและสร้างสรรค์กิจกรรมแบบใหม่ เป็น Content ที่กลุ่มลูกค้าซีวิคจะนำไปพูดต่อในคลับในแบบ Viral Marketing กิจกรรมนี้ทำเอาค่ายรถแบรนด์อื่นอึ้งกันไปเลยทีเดียว เพราะทำกันแบบซ้ำๆ เดิม คือ เชิญลูกค้ามาชมการแข่งขัน กิจกรรม Pit Walk และ Grid Walk แจกเสื้อ แจกพัด แจกอาหารและมินิ คอนเสิร์ต เชยไปเลยเมื่อเจอกิจกรรมมอเตอร์สปอร์จของฮอนด้า
อย่าว่าแต่ “ฮอนด้า” ที่เป็นค่ายรถยนต์ มีผลิตภัณฑ์ถึงผู้บริโภค แม้แต่ “เคฮิน” ผู้ผลิตหัวฉีดน้ำมัน ซึ่งเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ ซัพพลายเออร์หัวฉีดรายใหญ่ของเครื่องยนต์ฮอนด้า ทาง เคฮิน (ไทยแลนด์) ยังขนพนักงานและครอบครัวมาเชียร์การแข่งขันกันให้พรึ่บ ทั้งที่ไม่ต้องสื่อสารแบรนด์กับ End User หรือลูกค้าทั่วไป ยังสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก Super GT Race สนามนี้ได้ ถ้าผู้บริหาร ฝ่ายการตลาด และฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีความรู้ความเข้าใจ
บทสรุปของ Honda ในการแข่งขัน Buriram Super GT Race 2016 ปีนี้สวยงามมาก เพราะในสนาม GT500 รถยนต์ Honda NSX Concept ยืนโพเดี้ยม ทั้งยังเป็นทีม Modulo อีกด้วย ส่วนนอกสนามหรือกิจกรรมการตลาด ลูกค้าก็แฮปปี้ ยิ่งคลับซีวิคหน้าบานเลยเมื่อได้ขับ Honda Civic ลงแทรคสนามช้างฯ ที่มาตรฐานโลก น้อยคนจะมีโอกาส ยิ่งในวันที่คนดูเต็มแกรนด์ สแตนด์อีกด้วย
นี่คืออีกหนึ่งกรณีศึกษาสำหรับวงการ Motorsport และการทำ Sport Marketing ในเมืองไทยเลยว่า ถ้าวางแผนมาดี สร้างกิจกรรมการตลาดด้วยตรรกะที่เป็นวิทยาศาสตร์และข้อมูลสถิติวิจัย ไม่นั่งมโน กีฬาความเร็วสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
เกี่ยวกับ “ณัฏฐ์ ปฏิภานธาดา” ผู้จัดการทั่วไปส่วนการตลาด และการวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด “ณัฏฐ์” นั้นเป็นชื่อใหม่ของ “คุณแมน” แม่ทัพใหญ่ของแบรนด์รถยนต์ฮอนด้า ผ่านประสบการณ์ทำงานในวงการรถยนต์มาหลายสิบปี ทั้งค่ายญี่ปุ่นและฝรั่ง มีความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาด การสื่อสารแบรนด์และงานประชาสัมพันธ์
“ณัฏฐ์” ชื่อใหม่พยางค์เดียว มีความทันสมัย และพยัญชนะที่ใช้ก็มาจากความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์แบบไทย แต่ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องรถขายไม่ได้ เพราะรถยนต์ฮอนด้าขายดีมากในเมืองไทย โดยเฉพาะ Honda Civic ใหม่ และ Honda HR-V อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนชื่อของคุณแมน สะท้อนให้เห็นความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่นในวิธีคิด แม้นว่าจะทำงานกับองค์กรชั้นชำที่ติด 1 ใน 5 บริษัทที่คนอยากร่วมงานมากที่สุด และงานทุกอย่างต้องเป็นวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ แต่ก็ยังมีความเป็นไทยในวิถีการใช้ชีวิตส่วนตัว เป็นอีกหนึ่งผู้บริหารและคนยานยนต์ที่น่าศึกษาในเรื่องความสำเร็จในการประกอบอาชีพ